5/09/2556

                                           ประวัติส่วนตัว


 
 
 
 
ชื่อ สกุล      น.ส จุรีรัตน์ สุวรรณศิขริน
 ชื่อเล่น            พลอย
รหัสนักศึกษา 51171604
คณะครุศาสตร์
เอกดนตรีศึกษา
 
วัน/เดือน/ปีเกิด    วันที่  22   มิถุนายน พ.ศ. 2532
อายุ    24 ปี
กรุ๊ปเลือด   บี

งานอดิเรก ฟังเพลง เล่นดนตรี
 
สิ่งที่ชื่นชอบ    ชอบสีดำกับชมพู      กีฬาว่ายน้ำ
                      นิสัยส่วนตัว   ร่าเริง สนุกสนาน
คติประจำใจ  อย่าบอกว่าทำไม่ได้ หากยังไม่ได้ทำ
                      E-mail  ploy._.trombone@hotmail.com
 
       



        ทรอมโบน (Trombone)

                          

        ทรอมโบน (Trombone) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง มีคันชักใช้สำหรับเปลี่ยนระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา ในวงดนตรี ทรอมโบนจะทำหน้าที่ประสานเสียงในกลุ่มแตรด้วยกัน
        ทรอมโบน ผลิตเสียงจากการสั่นสะเทือนของริมฝีปากผู้เล่น ทำให้เกิดกระแสลมในเครื่อง ทรอมโบนเป็นเครื่องที่เปลี่ยนระดับเสียงโดยการเปลี่ยนความยาวของสไลด์ แต่ก็มีทรอมโบนบางประเภท เช่น Valve trombone ที่มีลูกสูบ 3 อันเหมือนกับทรัมเป็ตด้วย

        Valve Trombone

        คำว่า ทรอมโบน ( Trombone ) เป็นภาษาอิตาเลียน มาจากคำว่า Tromba ซึ่งแปลว่า "แตรทรัมเป็ต" และคำวิเศษณ์ขยายตามท้าย ว่า -one ซึ่งจะทำให้มีความหมายว่า "มีขนาดใหญ่" ดังนั้น คำว่า Trombone จึงมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า "แตรทรัมเป็ตขนาดใหญ่" ทรอมโบนพัฒนามาจากแตรทรอมบา (Tromba) ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 14 ทรอมโบนและทรัมเป็ตมีรูปร่างที่คล้ายกัน คือ bore เป็นทรงกระบอก Tenor หรือ bass ทรอมโบนก็คืออีกภาคหนึงของทรัมเป็ต เป็นเครื่อง Bb แต่ปกติทรอมโบนเป็นเครื่อง C คือระดับเสียงเดียวกับปกติ

        Tromba

        ทรอมโบน เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนาและพิธียุรยาตราร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วยท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า – ออกได้ (Telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบ สองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอกเช่นเดียวกับ ทรัมเปตส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ
        ทรอมโบนเป็นเครื่องดนตรีประเภทท่อทรงกระบอก (Cylindrical Bore) กล่าวคือมีท่อลมที่ขนาดคงที่เกือบทั้งเครื่อง ทำให้มีเสียงที่แข็งและกระด้าง ไม่นิ่มนวลเหมือนฮอร์นหรือยูโฟเนียม แต่ในบางรุ่นอาจมีการขยายขาหนึ่งของ Slide ให้ใหญ่กว่าอีกขาหนึ่ง ทำให้เสมือนหนึ่งเป็นเครื่องดนตรีทรงกรวย (Conical Bore) และให้เสียงที่นุ่มขึ้น
        ในก่อนยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 ทรอมโบน จะเป็นที่รู้จักกันในนามของ "แซ๊กบัต" ( Sackbut ) ซึ่งเป็นคำภาษาอังกฤษโบราณ แตรแซ๊กบัต เป็นแตรที่ใช้กันทั่วไปทั้งในอังกฤษ เยอรมัน และอิตาลี โดยมีขนาดต่างๆ กันตามเสียง โดยทั่วไป แตรแซ๊กบัต จะมี 3 ขนาด คือ เสียง Alto , Tenor และ Bass

        ภาพ : Alto , Tenor & Bass Sackbut

        ในช่วงยุคคริสต์สตวรรษที่ 16 - ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้มีการพัฒนาแตรแซ๊กบัต จนมากลายเป็น แตรทรอมโบน ในที่สุด แต่แตรทรอมโบนในยุคบาโร้คนั้นก็ยังไม่มีความแตกต่างจากแตรแซ๊กบัตมากนัก คีตกวีในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 16 นิยมใช้แตรทรอมโบน ในบทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนา อาทิเช่น Claudio Monterverdi , Giovanni Gabrielli แต่พอล่วงเข้ายุคบาโร้ค ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 แล้ว แตรทรอมโบนกลับไม่ได้รับความนิยมมากดังเช่นในยุค Renaissance ดังจะเห็นได้ว่า ในยุคบาโร้ค แทบไม่ปรากฏบทเพลงสำหรับบรรเลงด้วยทรอมโบนเลย แต่ก็ยังมีคีตกวีบางท่าน เช่น Handel ใช้ทรอมโบนอยู่บ้าง เช่น ใน The Music for The Royal Firework เป็นต้น

        ภาพ : Tenor Baroque Trombone in Bb

        Baroque Tenor Trombone

        โครงสร้าง
        ทรอมโบนมีลักษณะเป็นท่อทรงกระบอกงอเป็นรูปตัว S เล็กที่สุดที่ใส่เมาท์พีซและใหญ่ที่สุดตรงปากแตร รูปร่างและการผลิตส่งผลถึงเสียงที่ออกมา เหมือนกับเครื่องทองเหลืองประเภทอื่น ๆ ผลิตเสียงได้โดยการเป่าลมผ่านริมฝีปากที่สั่นสะเทือน


        เมาท์พีซมีรูปร่างเป็นทรงถ้วยเหมือนกับ Baritone horn แบบเดียวกับทรัมเป็ต สวมพอดีกับที่ใส่เมาท์พีซ ส่วนสไลด์ประกอบด้วยท่อ leadpipe ท่อใน ท่อนอก และ Stays คือส่วนเชื่อมท่อในและนอก Sackbuts (ทรอมโบนโบราณ) ไม่ได้เชื่อม Stay เข้าไปเป็นเนื้อเดียวกับเครื่อง (เป็นรูปแบบของทรอมโบนเยอรมันจนถึงกลางศตวรรษที่ 20)
        สไลด์ ส่วนที่เห็นชัดและสำคัญที่สุดของทรอมโบน ผู้เล่นจะกำหนดเสียงได้จากการเลื่อนส่วนนี้ เพื่อที่จะลดแรงเสียดทานเมื่อเลื่อนสไลด์ มีการสร้างปลอกหุ้มท่อขึ้นมาในสมัยเรเนอซองส์ และได้รับการเชื่อมเข้าไปกับท่อด้านใน ทุกวันนี้ปลอกหุ้มท่อก็ได้รับการจดลิขสิทธิ์ ในกระบวนการผลิตให้อยู่ติดกับสไลด์ด้านใน และต้องมีการจัดการขนาดอย่างระวังเพื่อลดแรงเสียดทานให้มากที่สุด และต้องมีการหยอดน้ำยาหล่อลื่นอยู่สม่ำเสมอ

        ประเภทของทรอมโบนที่นิยมใช้ในปัจุจบันมี 4 ชนิด
        Alto Trombone : มีระดับเสียงสูงที่สุด คีย์ Eb หรือ Eb/Bb alto trombone จะมีช่วงตำแหน่งการ silde ที่สั้น กว่า Tenor และ bass trombone bone ของ alto trombone จะคล้ายกับ tenor trombone แต่จะมีขนาดเล็กกว่า ปรมาณ 0.450"-0.500" และ bell ประมาณ 6.5" หรือ 7.5"

        ส่วนลำโพงของ tenor trombone และฺ Bb/F

        Tenor Trombone มีระดับเสียงต่ำกว่า Alto มีคีย์เสียง Bb เป็นทรอมโบนมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุดในวงทุกประเภท และเป็นที่เริ่มนิยมอย่างมากในช่วงกลางของศตวรรษที่ 19 ในอังกฤษ และ ฝรั่งเศส สำหรับบางเครื่องจะมี Valve สำหรับใช้เปลี่ยนคีย์เสียงของเครื่องทรอมโบนลงไปเป็นคีย์ F (คู่ 4 Perfect) และปิดช่องว่างระหว่าง Bb1 และ E2 ของทรอมโบนทั่วไป ทรอมโบนชนิดนี้อาจเรียกชื่อว่า Trombone แบบนี้ว่า Tenor-Bass Trombone หรือ Bb/F Trombone หรือบางครั้งเรียก Trombone with F-attachment มักมีขนาดปากแตรที่ 7½ ถึง 8½ นิ้ว
        Marching Trombone คือ Tenor Trombone คีย์ Bb ที่ใช้วาล์วแทนสไลด์เพื่อไม่ให้เกะกะ เป็นทรอมโบนที่ออกแบบให้เครื่องมีขนาดสั้นและน้ำหนักเบา สำหรับใช้ในวงโยธวาทิตเท่านั้น
        Bass Trombone มีคีย์หลักที่ Bb และมีความยาว 9 ฟุตเช่นเดียวกับ Tenor Trombone แต่มีขนาดท่อลมที่ใหญ่กว่าเพื่อให้เสียงที่หนักกว่าและนุ่มกว่า มักมีเส้นผ่านศูนย์กลางท่อลม (Bore Size) ที่ใหญ่กว่า Tenor Trombone เช่น 0.562" หรือ 0.580" และมีขนาดปากแตร (Bell) ตั้งแต่ 9 ถึง 10½ นิ้ว โดยทั่วไปมักมี Valve สำหรับเปลี่ยนคีย์ลงไปที่ F และสำหรับบางเครื่องอาจมี Valve อีกตัวซึ่งสามารถเปลี่ยนเสียงให้ต่ำลงอีกเป้นคู่ 3 Minor หรือ 3 Major (แล้วแต่รุ่น) ทำให้สามารถผสมคีย์ได้หลากหลาย เช่น Bb/F/Gb/D, Bb/F/G/Eb, Bb/F/D และ Bb/F/Eb
        เบสทรอมโบนสมัยใหม่เป็นรุ่นพัฒนาของ Tenor Bass Trombone ซึ่งถูกขยายท่อลมและขนาดปากแตรให้ใหญ่ขึ้นในภายหลัง ในอดีตเคยมี Bass Trombone ในคีย์ F G และ Eb เช่นกัน แต่เสื่อมความนิยมลงหลังจากมีการประดิษฐ์ Tenor Bass Trombone ซึ่งสามารถคลุมช่วงเสียงที่ในอดีตจำเป้นต้องใช้ทรอมโบนเหล่านี้ได้ทั้งหมด

        ทรอมโบนชนิดอื่นๆ
        Soprano Trombone หรือ Slide Trumpet มีระดับเสียงสูงมาก คีย์ Bb ซึ่งจะสูงกว่าคีย์ Bb ของทรอมโบรนทั่วไปอยู่ 1 Octave
        Contrabass Trombone : หรือ Slide Tuba มีระดับเสียงต่ำกว่า Bass Trombone คีย์ Bb เริ่มใช้ครั้งแรกในอุปรากรของวากเนอร์เรื่อง Der Ring des Nibelungen ในปี ค.ศ.1876 มีขนาดท่อลมตั้งแต่ 0.567" ถึง 0.635" แต่ที่นิยมคือระหว่าง 0.567" กับ 0.580"

         
        Contrabass Trombone



        Superbone : เป็นการผสมผสานระหว่าง Valve และ Slide ปรากฏในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 เคยรู้จักกันในชื่อ Valide Trombone นิยมใช้ในหมู่นักดนตรี jass ในปัจจุบันมักเรียกกันว่า Superbone

        Superbone

        เฟรนช์ฮอร์น (Frenchhorn)

                  
        เฟรนช์ฮอร์น คือ เครื่องเป่าทองเหลือง ท่อลมเป็นทรงกรวย ขยายออกไปตลอด ปลายท่อจะบานออกเป็นลำโพงอย่างกว้าง ท่อลมจะขดเป็นวงกลม
        ปัจจุบันเรียกว่า "ฮอร์น" ต้นกำเนิดของฮอร์นคือเขา สัตว์ ฮอร์นที่เก่าแก่ที่สุดคือ โชฟาร์ (Shofar) ของชาวฮิบรู ทำด้วยเขาแกะ เฟรนช์ฮอร์น เป็นแตรที่มีช่วงเสียงกว้างถึง 3 ออคเทฟครึ่ง มีท่อยาวประมาณ 12-15 ฟุต แต่นำมาขดเป็นวงโค้งไปมา เพื่อให้สะดวกแก่ผู้เป่าจนเหลือความยาวจากปากเป่าถึงปากลำโพงเพียง 20 นิ้ว เสียงของเฟรนซ์ ฮอร์น สดใส สง่า จัดว่าเป็นพระเอก ในบรรดาเครื่องลมทองเหลือง นักแต่งเพลงหลายคนใช้เสียงของเฟรนซ์ฮอร์นบรรยายความงามของธรรมชาติ เช่น ท้องทะเลครามอันกว้างใหญ่ไพศาล และหุบเขาที่มีเสียงสะท้อนก้องกลับไปกลับมา เนื่องจากท่อลมมีขนาดยาวมากการบังคับริมฝีปากในการเป่าจึงเป็นเรื่องยาก
        ตามรูปศัพท์ ฮอร์น ( Horn ) หมายความตรงตัวว่า เขาสัตว์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว) เมื่อมนุษย์มีการนำเอาเขาสัตว์มาประดิษฐ์เป็นแตรเพื่อการส่งเสียงสัญญาณ คำว่า ฮอร์น ก็มีความหมายติดมาว่า หมายถึง แตรส่งสัญญาณด้วย จนถึงเมื่อกระทั่งในช่วงยุคโรมัน มีการประดิษฐ์แตรด้วยทองเหลือง ที่เรียกว่า Corna ซึ่งเป็นแตรที่ใช้ในกองทัพโรมัน ก็มาจากรูปแบบของแตรเขาสัตว์เป็นสำคัญ และอาจจะนับได้ว่าแตร Corna ของโรมัน เป็นต้นแบบของแตร Horn ทุกวันนี้ เพราะในภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาฝรั่งเศส และภาษาอิตาเลียน (ซึ่งมีรากมาจากตระกูลภาษาละตินของโรมัน) ก็เรียกแตรฮอร์นนี้ ว่า Cor หรือ Corno เช่นกัน

        แตร Corna ของกองทัพโรมัน

        แตรฮอร์นในยุคบาโร้คนั้น มีพัฒนาการมาจากแตรฮอร์นที่ใช้ในการล่าสัตว์ ที่เรียกว่า ลา คอร์โน ดา คักชา (La Corno da Caccia) ในภาษาอิตาเลียน หรือ ลา กอร์ เดอ แชสส์ (La Cor de Chasse) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแตรที่ใช้สำหรับเป่าไล่สัตว์ที่เป็นเหยื่อให้ตกใจวิ่งหนี โดยจุดประสงค์เดิม คือเพื่อให้เกิดเสียงดัง ๆ เท่านั้น โดยไม่สนใจว่าจะได้เสียงที่ดีหรือไม่ และขนาดของ แตรฮอร์นล่าสัตว์ ก็จะมีขนาดเส้นรอบวงใหญ่กว่าแตรฮอร์นเพื่อการเล่นดนตรี เพื่อที่จะสามารถเอาส่วนโค้งกลมของแตรฮอร์นนั้นคล้องรอบตัวไว้ได้ เพื่อที่จะไม่ร่วงหล่นในขณะที่ต้องขี่ม้าล่าสัตว์ แต่เมื่อมีการนำแตรฮอร์นเข้ามาใช้ในการแสดงดนตรีเพื่อความบรรเทิง จึงต้องมีการลดขนาดเส้นรอบวง เพื่อให้ไม่เกะกะ และปรับปรุงคุณภาพเสียงให้ดียิ่งขึ้น

        ภาพ : La Corno da Caccia in F by Johann Carl Kodisch, Nurnberg ,1684

        ส่วนการที่เราเรียกแตรฮอร์น ว่า เฟรนช์ฮอร์น ( French Horn ) เนื่องมาจาก ช่างฝีมือชาวฝรั่งเศส ในช่วงราว ปี ค.ศ.1650 ได้ทำการพัฒนาแตรฮอร์นที่ใช้ในการล่าสัตว์ ( La Corno da Caccia) มาเป็นแตรฮอร์นเพื่อใช้ในการบรรเลงดนตรีอย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก จากนั้น จึงได้รับความนิยมกันทั่วไป และรู้จักกันในนามของ French Horn เพื่อเรียกให้แตกต่างจาก La Corno da Caccia ซึ่งก็ยังคงใช้กันอยู่ ในเวลาต่อมา ช่างฝีมือชาวอังกฤษก็ได้ปรับปรุงเฟรนช์ฮอร์นให้ดีขึ้น ในช่วง ราว ค.ศ.1750 และเป็นต้นแบบของเฟรนช์ฮอร์นในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ดี เฟรนช์ฮอร์นในยุคบาโร้ค ยังคงไม่มีระบบลูกสูบเพื่อช่วยในการบังคับลมและเสียงได้ง่ายเหมือนดังเช่นเฟรนช์ฮอร์นในปัจจุบัน ดังนั้น บางครั้งจึงมีผู้เรียกเฟรนช์ฮอร์นในยุคบาโร้ค ว่า Natural Horn เพื่อให้แยกความแตกต่างออกจาก เฟรนช์ฮอร์น ในยุคปัจจุบัน

        ภาพ : Baroque French Horn

        The English Bach Festival , Baroque French Horn (Natural Horn)

        ทรัมเป็ต (Trumpet)

                               


        ทรัมเป็ต เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ประเภทเครื่องลมทองเหลืองเสียงสูง (High Brass) ทรัมเป็ตถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชิ้นหนึ่ง ย้อนไปตั้งแต่สมัย 1500 ปีก่อน ค.ศ. มันถูกสร้างขึ้นมาจากทองเหลืองหล่อเป็นท่อกลวง แล้วนำมางอ 2 ครั้ง เป็นลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า เล่นโดยเป่าลมเข้าไปในเครื่องโดยที่ริมฝีปากยังปิดอยู่ ปากเม้มตึง ทำให้เกิดเสียงหึ่งๆ เหมือนผึ้งร้อง (buzzing sound) ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของการสั่นสะเทือนของอากาศภายในทรัมเป็ต
        ทรัมเป็ตมีหลายชนิด ที่ธรรมดาที่สุดคือ Bb ทรัมเป็ต ทรัมเป็ตรุ่นก่อนจะไม่มีลูกสูบ แต่สมัยปัจจุบันมีถึง 3 ลูกสูบ ซึ่งลูกสูบมี 2 ชนิด คือ Piston valves กับ Rotary valves แบบ Piston Valves จะนิยมและพบเห็นมากสุดในปัจจุบัน แต่ละลูกสูบจะเพิ่มระยะของท่อเมื่อกด ข้างในลูกสูบที่เราเห็นเป็น รูๆ เมื่อเรากดลูกสูบ กระแสลมจะผ่านคนละแบบตามแต่ระยะท่อ เสียงที่ออกมาจึงไม่เหมือนกัน ทรัมเป็ตเข้าได้กับดนตรีหลายประเภท ทั้งคลาสสิค และ แจ๊ส

        ประวัติ

        ทรัมเป็ตของเปรูโบราณ

        ทรัมเป็ตยุคแรกเริ่มอยู่ในสมัย 1500 ปีก่อนคริสตกาล คือ ทรัมเป็ตบรอนซ์และเงินจากหลุมศพของตุตันคาเมนแห่งอียิปต์ Bronze lurs จากสแกนดิเนเวีย ทรัมเป็ตโลหะจากจีน หรือจากอารยธรรม Oxus (3 พันปีก่อนคริสตกาล) ทางเอเชียกลางมีการเพิ่มขนาดตรงส่วนกลางของเครื่องด้วย ทั้งที่ทำจากโลหะเพียงแผ่นเดียว ถือเป็นเทคนิคที่น่าทึ่งมาก ทรัมเป็ตในยุคก่อนมักจะใช้ในการทหารมากกว่าความเพลิดเพลิน และ Bugle ก็ตอบสนองจุดนี้ได้ดีทีเดียว
        ในยุคกลาง นักทรัมเป็ตถือเป็นบุคคลสำคัญของกองทัพที่ต้องได้รับการอารักขาอยากเข้มงวด เพราะถือเป็นคนที่คอยส่งคำสั่งหรือข้อความให้กับกองกำลังอื่นๆ ในกองทัพ
        การพัฒนารูปร่างของเครื่องดนตรีและชนิดของโลหะเริ่มขึ้นในช่วงท้ายของยุคกลาง และยุคเรเนอซองส์ ทำให้ทรัมเป็ตรุ่งเรืองขึ้นมาในฐานะ “เครื่องดนตรี” ทรัมเป็ตในยุคนี้มีเพียง 1 ขด ไม่มีลูกสูบ เพราะงั้นมันก็เลยเล่นได้อยู่เสียงเดียว กับ Octave ของมันเท่านั้น เวลาจะเปลี่ยนคีย์ก็ต้องเปลี่ยนเครื่อง และพัฒนามากขึ้นอีกในยุคบาโรค เรียกได้ว่าเป็น “ยุคทองของทรัมเป็ต” เลยทีเดียว ช่วงนี้เพลงถูกเขียนขึ้นมาสำหรับ Virtuoso trumpeters อีกครั้งในช่วงกลางของศตวรรษที่ 20 การเล่นทรัมเป็ตแพร่หลายไปทั่วโลก ผู้เล่นส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จก็ใช้ทรัมเป็ตที่ออกแบบมาในยุคบาโร้ค

        ทรัมเป็ตในยุคบาโรค

        มีความพยายามที่จะให้ทรัมเป็ตมีอิสระในการเล่นโน้ตมากขึ้น โดยสร้างเป็น Key Trumpet แต่ไม่ประสบความสำเร็จและไม่แพร่หลายนักเนื่องจากคุณภาพเสียงที่ยังไม่ดีพอ ถือว่าช้ามากกว่าที่จะมีการนำลูกสูบแบบใหม่มาใช้ (สร้างในกลางทศวรรษ 1830) และ Cornet ก็โด่งดังขึ้นมาในอีก 100 ปีให้หลัง ทั้ง Symphonies ของ Mozart, Beethoven และ Brahms ก็ยังคงใช้ทรัมเป็ตแบบ “ปกติธรรมดา” เล่นอยู่ Crooks หรือ Shanks คือ บูเกิลแบบเฟร้นช์ฮอร์นนั่นเอง ไม่มีทั้งปุ่มกดและลูกสูบ กลับเป็นเครื่องที่ดูได้มาตรฐานอย่างน่าสังเกตในฝรั่งเศสในต้นศตวรรษที่ 20 เพราะพัฒนาการของเครื่องประเภทนิ้มีน้อยเมื่อเทียบกับเครื่องอื่นๆ เมื่อเข้าศตวรรษที่ 20 แล้ว เริ่มมีการเขียนเพลงสำหรับทรัมเป็ตอย่างหลากหลายและนิยมมากขึ้น
        ประเภทของทรัมเป็ต
        ทรัมเป็ตที่ธรรมดาที่สุดก็คือ Bb ทรัมเป็ต แต่ก็มีพวก F, C, D, Eb, E, G เหมือนกัน C ทรัมเป็ตมักเล่นในวงออร์เคสตราของอเมริกันร่วมกับแบบ Bb ด้วยขนาดที่เล็กทำให้เสียงค่อนข้างแจ่มชัดกว่า ดูมีชีวิตชีวากว่า เพราะโน้ตสำหรับทรัมเป็ตในยุคก่อนเหมาะสำหรับทรัมเป็ตที่ตัวนึงเป็นเสียงนึงเลย ก็เมื่อก่อนมันไม่มีลูกสูบนี่ ก็เลยเปลี่ยนระดับเสียงไม่ได้ เพราะงั้นคนเล่นก็เลยต้องเลือกเล่นเฉพาะส่วนในแต่ละเพลง นักเล่น Orchestra trumpet จะต้องเทพในการทรานสโพสโน้ตด้วยการมอง เพราะบางครั้งโน้ตเขียนโดยยึด Bb บางครั้งก็ C

        Trumpet in C with Rotary valves

        ช่วงเสียงของทรัมเป็ตเริ่มจาก F# ใต้ Middle C จนขึ้นไปอีก 3 Octaves บทเพลงทั่วไปที่คุ้นหูจะไม่มีโน้ตที่อยู่นอกเหนือจากช่วงนี้ และตารางนิ้ว ก็จะเขียน C ที่สูงกว่า Middle C สอง Octaves เป็นตัวสุดท้าย นักทรัมเป็ตหลายๆ คนวัดระดับความเก่งของตัวเองจากตัวที่สูงที่สุดที่พวกเขาเป่าได้ ไม่ว่าจะเป็น Lew Soloff, Andrea Tofanelli, Bill Chase, Maynard Ferguson, Roger Ingram, Wayne Bergeron, Anthony Gorruso, Dizzy Gillespie, Jon Faddis, Cat Anderson, James Morrison, Doc Severinsen and Arturo Sandoval หรือบางทีเราก็อาจจะลองเป่าเสียงที่ต่ำกว่า F# ก็ได้
        ทรัมเป็ตที่เล็กที่สุดเรียกว่า Piccolo trumpet มักจะเล่นในคีย์ Bb หรือ A และมี leadpipes แยกต่างหากแต่ละคีย์ Piccolo trumpet จะมีความยาวเป็นครึ่งหนึ่งของทรัมเป็ตปกติ แบบ G F หรือ C ก็มีแต่หายากกว่า ผู้เล่นหลายคนจะใช้เมาท์พีซที่เล็กกว่าปกติ ซึ่งจะให้เสียงและต้องใช้เทคนิคที่ต่างไป ปกติแล้ว Piccolo trumpet จะมีลูกสูบ 4 อัน ซึ่งจะลดระดับเสียงได้มากกว่า ตัวอย่างคนที่เล่นคือ Maurice André, Håkan Hardenberger, และWynton Marsalis

        Piccolo trumpet in Bb

        ทรัมเป็ตในคีย์ G ต่ำเรียกว่า Sopranos หรือ Soprano Bugles หลังจากที่ใช้ในกองทัพ ตอนนี้ก็ใช้กับวง drum and bugle แทน Sopranos มีทั้งลูกสูบแบบ Rotary และ Piston ใน 1 เครื่อง

        Military Bugle in Bb

        ส่วน Bass ทรัมเป็ต มักถูกเล่นโดยนักทรอมโบน เพราะเสียงมันเหมือนกัน ใช้เมาท์พีซของทรอมโบนที่ตื้นกว่า และอ่านโน้ตจาก กุญแจซอล

        Bass trumpet in C with Rotary valves

        อีกชนิดที่น่าสนใจคือ Slide trumpet ก็เป็นตระกูลบีแฟลตที่มีสไลด์ เหมือนกัน Soprano trombone สไลด์ทรัมเป็ตเครื่องแรกสุดเกิดขึ้นในยุคเรเนอซองส์ ช่วงที่เค้ากำลังเห่อทรอมโบนน่ะแหละ และเป็นการเพิ่มความยิบย่อยของเสียงลงไปอีก ทรัมเป็ตชนิดนี้เป็นชนิดแรกที่ได้รับอนุญาตให้เล่นในโบสถ์คริสเตียน


        เรื่องราวสไลด์ของทรัมเป็ตนี้เริ่มพัฒนาขึ้นในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 14 เพื่อใช้ในวงดนตรี Alta Capella สไลด์ทรัมเป็ตในยุคเรเนอซองส์ก็คือทรัมเป็ตปกตีที่มีสไลด์น่ะแหละ มันค่อนข้างจะเกะกะไม่สะดวกเท่าไหร่ แล้วช่วงเสียงของสไลด์ก็ไม่ได้กว้างเพียงพอ ก็อย่างที่รู้กันว่าเครื่องดนตรีในยุคนี้ไม่ค่อยจะอยู่ยืนยาวถึงปัจจุบัน ก็แบบเดียวกับสไลด์ทรัมเป็ตน่ะแหละ ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันว่าเหมาะและคุ้มค่ารึเปล่า สไลด์ทรัมเป็ตบางตัวยังพบในอังกฤษสมัยศตวรรษที่ 18
        Pocket trumpet ก็คือบีแฟลตทรัมเป็ต ที่ bell เล็กกว่าปกติ ส่วนท่อจะติดกันแน่นกว่าเพื่อลดขนาดของเครื่องโดยไม่ลดความยาวท่อ ไม่มีรูปแบบเป็นมาตรฐานและคุณภาพก็แตกต่างกันมาก เสียงที่ออกมาค่อนข้างมีเอกลักษณ์
        นอกจากนี้ยังมีทรัมเป็ตประเภท Rotary valve ทรัมเป็ตเยอรมัน Alto trumpet และทรัมเป็ตของยุคบาโรค
        ทรัมเป็ตมักถูกสับสนกับคอร์เน็ต ซึ่งคอร์เน็ตจะมีท่อเป็นกรวยมากกว่า ทรัมเป็ตจะเป็นทรงกระบอก เพราะงั้นรอยต่อของคอร์เน็ตก็เลยให้เสียงที่สุขุมกว่า แต่อย่างอื่นก็แทบจะเหมือนกันหมด ท่อยาวเท่ากัน ระดับเสียงเหมือนกัน เพราะงั้นเพลงที่จะเล่นก็เล่นด้วยกันได้ อีกอันนึงคือ Flugelhorn ท่อเป็นกรวยมากกว่าคอร์เน็ต เสียงมีพลังกว่า บางครั้งก็มี 4 ลูกสูบอีกแล้ว

        ทูบา (Tuba)

          

        ทูบา (Tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูล แซ็กฮอร์น ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9 ,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด มีช่วงเสียงกว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบบังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน ส่วนตรงปลายท่อ บานเป็นลำโพง กำพวดเป็นโลหะรูปถ้วย เสียงของทูบาต่ำ ลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า "พีเดิล โทน" (pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนวเบส ให้แก่กลุ่มเครื่องลมทองเหลือง

        ทูบาทำมาจากทองเหลืองและเป็นเครื่องมือที่มีเสียงต่ำที่สุดในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง จึงทำหน้าที่เป็นเบสเพื่อให้แนวเบสมีเสียงแน่นขึ้น ผู้เล่นต้องใช้ลมมากเช่นเดียวกับฮอร์น ดังนั้น จึงควรมีช่วงให้หยุดพักหายใจบ้าง

        ทูบา เป็นเครื่องที่ใหญ่และเสียงต่ำที่สุดในตระกูลเครื่องทองเหลือง เสียงเกิดจากการสั่นของริมฝีปากที่แตะกับเมาท์พีซ ค่อนข้างเป็นที่นิยมในวงซิมโฟนีออร์เคสตราสมัยใหม่ ปรากฏครั้งแรกในกลางศตวรรษ 19 แทนที่ Ophicleide คำว่า Tuba เป็นภาษาละตินหมายถึง Trumpet หรือ Horn ส่วนคำว่า Horn หมายความใกล้เคียงกับ Baroque Trumpet ที่สุด

        Ophicleide

        ประวัติ

        Wilhelm Friedrich Wieprecht และ Carl Moritz ได้จดสิทธิบัตรสำหรับ Basstuba in F1 ของพวกเขาในวันที่ 12 กันยายน 1835 ทูบาของพวกเขามี 5 ลูกสูบ แบบ Berlinerpumpen ซึ่งเป็นต้นแบบของ Rotary valve ในปัจจุบัน

        ลูกสูบแบบ Berliner pumpen

        การมีลูกสูบมากขึ้นก็คือสามารถเล่นโน้ตที่ต่ำลงได้มากขึ้นด้วย ทำให้การเล่นโน้ตครอบคลุมมากขึ้น ก่อนจะมีการสร้างลูกสูบ เครื่องทองเหลืองถูกจำกัดในการเล่นโน้ต การเล่นในสมัยก่อนจึงนิยมเล่นเสียงสูงๆ จากเสียงหลัก โดยประมาณ 3 Octaves ทำให้การเล่นโน้ตหลากหลาย

        Ophicleide ใช้เมาท์พีซรูปถ้วยทำจากทองเหลือง แต่มีปุ่มและรูแบบเดียวกับแซ็กโซโฟนในปัจจุบัน ต้นแบบของทูบาอีกสิ่งก็คือ Serpent รูปร่างของเครื่องดนตรีนี้คล้ายกับคลื่น เพื่อให้เสียงออกมาฟังง่ายที่สุด หลุมเสียง (Tone holes) ทำให้เสียงเปลี่ยนแปลงได้โดยการทำให้ลมรั่วมากหรือน้อยจากเครื่อง แต่การเปลี่ยนของเสียงลักษณะนี้ส่งผลต่อความนิ่งด้วย ซึ่งการใช้ลูกสูบจะแก้ปัญหาจุดนี้ได้จึงได้รับความนิยมมากกว่า

        Adolph Sax ก็เช่นเดียวกับ Wieprecht คือสนใจในวงจรของเครื่องดนตรีทั้งสูงและต่ำ และก็พัฒนาเครื่องทองเหลืองที่เรียกว่า Saxhorns จากแซ็กโซโฟนปกติ ที่ใช้คีย์ Eb และ Bb ขณะที่ Wieprecht ก็สร้าง Contrabass tuba คีย์ F และ C ขึ้นมา เครื่องของเจ้าแซ็กโด่งดังในฝรั่งเศส และอังกฤษ อเมริกาในภายหลัง
         
          บทบาท

        ส่วนใหญ่แล้ววงออร์เคสตราจะมีทูบาตัวเดียว แต่บางทีก็ต้องใช้ถึงสอง ถือเป็นหัวใจหลักของวงซิมโฟนีและวงดนตรีทหาร และวงเหล่านั้นก็จะมีหลายตัวกว่า ทูบาถือเป็นเสียง bass ของเครื่อง brass ทั้งใน brass quinted และ choirs และอาจจะใช้ร่วมกับ woodwinds หรือ string อาจใช้บรรเลงเดี่ยวก็ได้

          ผู้เล่นและส่วนบรรเลงของทูบาที่รู้จักกันดีได้แก่

        Modest Mussorgsky (arr. Ravel) (Pictures at an Exhibition - Bydlo)

        Richard Strauss (Also sprach Zarathustra, Eine Alpensinfonie).

        Shostakovich (Fifth symphony).

        Stravinsky (The Rite of Spring).

        Edgard Varèse (Déserts).

        Richard Wagner (Die Meistersinger von Nürnberg, Lohengrin, Ride of the Valkyries).

        Sergei Prokofiev (Fifth Symphony).

        George Gershwin (An American in Paris)

        Silvestre Revueltas (Sensemayá, Noche de los mayas, Homenaje a Federico García Lorca)

        ผู้เขียน Concertos ที่ได้เรียบเรียงโน้ตสำหรับทูบาไว้ เช่น Ralph Vaughan Williams, Edward Gregson, John Williams, Alexander Arutiunian, Eric Ewazen, James Barnes, Martin Ellerby, Philip Sparke, Kalevi Aho, Arild Plau, James Woodward, Victor Davies, Josef Tal, Bruce Broughton, and Joseph Hallman เป็นต้น ทูบาถูกใช้ทั้งในวง Concert band Marching band, drum and bugle corps ในวงเครื่อง brass สไตล์บริติชก็มีทั้งแบบ Eb และ Bb ทูบา ซึ่งมักใช้ผลิตเสียง bass

        In british style brass band

        ชนิดและโครงสร้าง

        ทูบาก็มีหลายคีย์เช่นกัน ชนิดที่พบบ่อยมักเป็น F Eb C Bb บีแฟลตทูบามีท่อยาวถึง 18 ฟุต ขณะที่ ซี 16 ฟุต อีแฟลต 13 เอฟ 12 มี bore เป็นทรงกรวย เพื่อที่เส้นผ่านศูนย์กลางของ bore จะเพิ่มขึ้นตามความยาวของท่อจากเมาท์พีซจนถึงเบล bore ทรงกรวยจะทำให้เสียงที่ออกมามีความกึกก้องมากที่สุด

        ทูบาที่ถูกออกแบบลักษณะมาให้วางบนตักถูกเรียกว่า Concert tuba ส่วนทูบาที่ Bell ชี้ไปข้างหน้า (Pavillon tournant) แทนที่จะชี้ขึ้นเรียกว่า Recording tuba เพราะในสมัยก่อนถูกใช้สำหรับ recorded music เนื่องจากเสียงที่ง่ายต่อการ record แต่ถ้าใช้พันรอบตัว รู้จักกันในชื่อ helicon คำว่า Sousaphone ถูกตั้งขึ้นจาก John Philip Sousa วาทยกรชาวอเมริกัน Sousaphone ก็คือ helicon ที่คอเบลชี้ขึ้นแล้วโค้งไปข้างหน้า ลักษณะเครื่องที่คล้ายทูบา เช่น bombardon ถูกออกแบบให้วางบนไหล่ของผู้เล่น เครื่องดนตรีเหล่านี้ถูกใช้ในวงทหารช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกัน เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “Saxhorns ที่วางบนไหล่”

        Helicon

        เพลงสำหรับทูบา ส่วนใหญ่เขียนขึ้นโดยใช้กุญแจฟา ผู้เล่นจึงต้องรู้ Fingering ของตนเองเป็นอย่างดี ในวง British-style brass ใช้กุญแจซอลสำหรับโน้ตของบีแฟลต โดยเล่นโน้ตที่ต่ำลงมา 2 octaves กับอีก 1 ขั้น และอีแฟลตทูบาลงมา 1 octave กับอีก 6 ขั้น ทำให้นักดนตรีสามารถเปลี่ยนเครื่องดนตรีได้โดยไม่ต้องเรียนรู้ Fingering ใหม่ๆ สำหรับเพลงเดิม เพราะงั้น ถ้าเพลงถูกเขียนขึ้นโดยกุญแจซอล ทูบาก็ถือเป็นเครื่องที่ต้อง Transpose โน้ต แต่สำหรับกุญแจฟาแล้วไม่ต้อง

        Bombardon

        ทูบาประเภทที่เสียงต่ำที่สุดคือ Contrabass tuba ในคีย์ซี หรือบีแฟลต (หมายถึง CC และ BBb ของวง) ความถี่ของเสียง CC อยู่ที่ 32 เฮิร์ตซ์ BBb 29 เฮิร์ตซ์ CC ทูบาใช้ในวงออร์เคสตราของอเมริกา ส่วน BBb ใช้ในเยอรมนี ออสเตรีย และรัสเซีย สำหรับอเมริกาแล้ว BBb มักใช้ในโรงเรียนมากกว่า (เช่นเดียวกับ BBb Sousaphone)

        Contrabass Tuba

        ทูบาที่ขนาดเล็กลงหน่อยคือ bass tuba ในคีย์ F หรือ Eb อีแฟลตทูบาเล่นสูงกว่า Contrabass อยู่ 1 Octave ส่วนเอฟทูบาใช้สำหรับบรรเลงเดี่ยว หรือเล่นในเพลงคลาสสิคบางเพลงในยุโรป เอฟทูบาเป็นเครื่องดนตรีพื้นฐาน

        Bass Tuba

        ยูโฟเนียม บางครั้งถูกเรียกว่า Tenor Tuba ในเสียง Bb สูงกว่า BBb Contrabass tuba 1 octave คำว่า tenor tuba มักจะใช้สื่อถึงทูบาคีย์ Bb ที่มีลูกสูบแบบ Rotary คำว่า Small French tuba in C คือเทเนอร์ทูบาในคีย์ C มีลูกสูบ 6 อัน French C tuba ถือเป็นเครื่องดนตรีพื้นฐานในวงดนตรีฝรั่งเศสจนกระทั่งถูกแทนที่โดย F และ C ทูบา ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2

        ยูโพเนียม (Euphonium)

        และเครื่องที่ใหญ่กว่านั้น Subcontrabass tuba ค่อนข้างจะหายาก (มีอย่างน้อย 4 เครื่องที่เป็นที่รู้จัก) สองเครื่องแรกถูกสร้างโดย Gustav Besson ในคีย์ BBBb ต่ำกว่าคอนทราเบส 1 octave ภายใต้คำสั่งของ John Philip Sousa แต่ว่ามันก็ไม่เสร็จจนซูซาตาย หลังจากนั้นในทศวรรษ 1950 นักดนตรีบริติช Gerard Hoffnung ได้ออกคำสั่งให้บริษัท Paxman ของลอนดอนสร้าง subcontrabass tuba EEEb เพื่อใช้ในงานเทศกาลรื่นเริง ทูบาในคีย์ FFF ก็ถูกสร้างขึ้นมาโดย Bohland & Fuch ใน Kraslice ในปี 1910-1911 เป็นเครื่องที่ต้องใช้ผู้เล่นถึงสองคน คนหนึ่งเป่าและคนหนึ่งกดลูกสูบ

        Kaiser tuba [rotary valves]


        เครื่องลมทองเหลือง (Brass Instruments)

                                                             

        เครื่องดนตรีประเภทนี้มักทำด้วยโลหะผสมหรือโลหะทองเหลือง เสียงของเครื่องดนตรีประเภทนี้เกิดจากการเป่าผ่านท่อโลหะ ความสั้นยาวของท่อโลหะทำให้ระดับเสียงเปลี่ยนไป การเปลี่ยนความสั้นยาวของท่อโลหะจะใช้ลูกสูบเป็นตัวบังคับ โดยทั่วไปมีเครื่องละ 3 ลูกสูบ เช่น คอร์เนต ทรัมเป็ท ฟลูเกิลฮอร์น เป็นต้น เครื่องดนตรีประเภทนี้มี 4 ลูกสูบก็ได้ เครื่องลมทองเหลืองชนิดที่มี 4 ลูกสูบ จะสามารถทำเสียงได้มากกว่าชนิดที่มี 3 ลูกสูบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับเสียงที่ต่ำกว่าปกติ เช่น ทูบา ยูโฟเนียม เป็นต้น เครื่องดนตรีบางชนิดจะใช้การชักท่อลมเข้าออก เปลี่ยนความสั้นยาวของท่อตามความต้องการ เช่น ทรอมโบน ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีประเภทนี้ มีปากลำโพงสำหรับใช้ขยายเสียงให้มีความดังเจิดจ้า เรามักเรียกเครื่องดนตรีประเภทนี้รวมๆ กันว่า “แตร” ขนาดของปากลำโพงขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องดนตรี ปากเป่าของเครื่องดนตรีประเภทนี้เรียกว่า “กำพวด” (Mouthpiece) ทำด้วยท่อโลหะ ทรงกรวย ด้านปากเป่ามีลักษณะบานออก คล้ายรูปกรวย มีขนาดต่างๆ กัน ตามขนาดของเครื่องดนตรีนั้นๆ ปลายท่ออีกด้านหนึ่งของกำพวด ต่อเข้ากับท่อลมของเครื่องดนตรี


         
         














         http://haneepahei.blogspot.com/